เมนู

มุทุตรวรรคที่ 2



อรรถกถาปฎิลาภสูตร



ปฏิลาภสูตรที่ 1.

คำว่า ปรารภสัมมัปปธาน คือ อาศัยความ
เพียรชอบ หมายความว่า เจริญความเพียรชอบ. แม้ในสตินทรีย์ก็ทำนอง
เดียวกันนี้แหละ.
จบอรรถกถาปฏิลาภสูตรที่ 1

2. ปฐมสังขิตตสูตร



ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ



[876] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็น
ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้ แล.
[877] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรี 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ 5
ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะ
อินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบปฐมสังขิตตสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐมสังขิตตสูตร



ปฐมสังขิตตสูตรที่ 2.

คำว่า ตโต คือ พึงทราบความคละ
ปนกันด้วยอำนาจวิปัสสนา มรรค และผล. จริงอยู่ ปัญญินทรีย์ ที่สมบูรณ์
เต็มที่แล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรค. คำว่า ตโต
มุทุตเรหิ คือ ที่อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรคเหล่านั้น ชื่อว่าเป็น
วิปัสสนินทรีย์ของอนาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิมรรค.
ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของโสดาปัตติมรรค. อ่อนกว่า
นั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์
ของสัทธานุสาริมรรค. ปัญญินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็น
อินทรีย์ของอรหัตมรรคและอรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์
ของอนาคามิมรรค สกทาคามิมรรคและโสดาปัตติมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็
เป็นของธัมมานุสาริมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของสัทธา-
นุสาริมรรค. อินทรีย์ทั้งห้า ที่สมบูรณ์เต็มที่ ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของ
อรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอนาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของ
สกทาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของโสดาปัตติผล.
ส่วนธัมมานุสารีและสัทธานุสารี แม้ทั้งสอง ก็คือบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติ
มรรค ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคแล้ว จะทราบความแตกต่าง
ของบุคคลทั้งสองนั้น ไม่ได้ เพราะด้วยการบรรลุบ้าง ด้วยมรรคบ้าง สัทธานุ
สารีบุคคล ที่กำลังให้เรียนอุเทศ สอบถามอยู่ ย่อมจะบรรลุมรรคโดยลำดับ.
ธัมมานุสารีบุคคล ย่อมบรรลุมรรคด้วยการฟังเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง
เท่านั้น พึงเข้าใจความแตกต่างในการบรรลุของธัมมานุสารีบุคคลและสัทธานุ-